กล้องโทรทรรศน์อวกาศ เจมส์ เว็บบ์ (JWST) ขององค์การนาซา ได้ถ่ายภาพเข้าไปในใจกลางของกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา เผยคุณลักษณะใหม่และความลึกลับภายในที่วุ่นวาย ซึ่งสามารถช่วยให้นักดาราศาสตร์คลี่คลายรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอกภพยุคแรกเริ่มได้
นาซาได้เผยแพรภาพดังกล่าวเมื่อวานนี้ (20 พ.ย.) โดยระบุว่า ความสามารถของกล้องโทรทรรศน์อวกาศในการถ่ายภาพจักรวาลด้วยแสงอินฟราเรดซึ่งมองไม่เห็นด้วยตามนุษย์ ทำให้สามารถบันทึกรายละเอียดที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนได้
“Wasp-107b” ดาวเคราะห์ประหลาด ที่ฝนตกลงมาเป็น “เม็ดทราย”
หลุมดำกลางทางช้างเผือกหมุนเร็วมาก แม้แต่ปริภูมิ-เวลายังบิดเบี้ยว!
นักวิทย์พบ “หลุมดำ” อายุเก่าแก่ที่สุด-อยู่ไกลที่สุด เท่าที่เคยพบมา
นักดาราศาสตร์ใช้ เจมส์ เว็บบ์ เพื่อศึกษาบริเวณที่เรียกว่า แซจิทาเรียส ซี (Sagitarius C หรือ Sgr C) ซึ่งอยู่ห่างจากหลุมดำมวลยิ่งยวดใจกลางกาแล็กซีอย่างแซจิทาเรียส เอ สตาร์ (Sagittarius A*) ประมาณ 300 ปีแสง
ซามูเอล โครว์ นักศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย หัวหน้าทีมศึกษาวิจัยครั้งนี้ กล่าวว่า “ภาพจากเว็บบ์น่าทึ่งมาก และข้อมูลที่เราจะได้รับจากภาพนั้นก็จะดียิ่งขึ้นไปอีก … ดาวฤกษ์มวลมหาศาลเป็นโรงงานที่ผลิตธาตุหนัก ดังนั้นการเข้าใจพวกมันให้ดีขึ้นก็เหมือนกับการเรียนรู้เรื่องราวต้นกำเนิดของจักรวาลส่วนใหญ่”
การศึกษาใจกลางทางช้างเผือกด้วย เจมส์ เว็บบ์ สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับจำนวนดาวที่ก่อตัวในพื้นที่ศึกษา และหาคำตอบว่า ดาวฤกษ์มวมหาศาลมีแนวโน้มที่จะก่อตัวใกล้ใจกลางกาแล็กซีมากกว่าบริเวณที่เป็นแขนของกาแล็กซีหรือไม่
“ไม่เคยมีข้อมูลอินฟราเรดใด ๆ ในพื้นที่นี้ที่มีระดับความละเอียดและความไวเท่ากับที่เราได้รับจากเว็บบ์ ดังนั้นเราจึงได้เห็นหลายอย่างในนี้เป็นครั้งแรก ..คำพูดจาก สล็อต777. เว็บบ์เปิดเผยรายละเอียดจำนวนมหาศาล ทำให้เราสามารถศึกษาการก่อตัวดาวฤกษ์ในสภาพแวดล้อมแบบนี้ในแบบที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน” โครว์กล่าว
ในภาพ มีดาวฤกษ์ประมาณ 500,000 ดวง โดยทั้งหมดมีขนาดและอายุต่างกันไป หนึ่งในนั้นคือกระจุกดาวฤกษ์แรกกำเนิด (Protostar) หรือมวลฝุ่นและก๊าซหนาแน่นที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและกำลังเติบโตกลายเป็นดาวฤกษ์เต็มวัย รวมทั้งดาวฤกษ์มวลมหาศาลที่ใจกลางกระจุกนี้ ซึ่งมีมวลมากกว่า 30 เท่าของดวงอาทิตย์ของเรา
โจนาธาน แทน ศาสตราจารย์วิจัยด้านดาราศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย หนึ่งในที่ปรึกษาของโครว์ กล่าวว่า “ใจกลางดาราจักรเป็นสภาพแวดล้อมสุดขั้วที่สุดในดาราจักรทางช้างเผือกของเรา ซึ่งทฤษฎีการกำเนิดดาวฤกษ์ในปัจจุบันสามารถนำมาทดสอบที่เข้มงวดที่สุดได้”
นอกจากนี้ กล้องอินฟราเรดระยะใกล้ (NIRCam) ของ เจมส์ เว็บบ์ ยังตรวจพบการปลดปล่อยไฮโดรเจนที่แตกตัวเป็นไอออนรอบ ๆ ขอบล่าง ซึ่งแสดงเป็นสีฟ้าในภาพ
นักดาราศาสตร์ยังคงพยายามหาคำตอบว่า อะไรทำให้เกิดก๊าซพลังงานจำนวนมหาศาล ซึ่งเกินกว่าที่ปกติจะปล่อยออกมาจากดาวมวลมหาศาลอายุน้อย ทีมสังเกตการณ์ยังรู้สึกทึ่งกับโครงสร้างที่ดูเหมือนเข็มภายในไฮโดรเจนที่แตกตัวเป็นไอออนซึ่งจัดเรียงกันโดยไม่มีระเบียบใด ๆ
รูเบน เฟดริอานี นักวิจัยจากสถาบันดาราศาสตร์ฟิสิกส์แห่งอันดาลูเซียในสเปน หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า “ใจกลางกาแล็กซีเป็นสถานที่ที่พลุกพล่านและสับสนอลหม่าน มีเมฆก๊าซแม่เหล็กปั่นป่วนที่กำลังก่อตัวดาวฤกษ์ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อก๊าซรอบ ๆ ด้วยลมที่ไหลออกมา ไอพ่น และการแผ่รังสีของพวกมัน … เว็บบ์ได้ให้ข้อมูลมากมายแก่เราเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่รุนแรงนี้ และเราเพิ่งเริ่มเจาะลึกลงไปเท่านั้น”
เรียบเรียงจาก CNN / NASA
ภาพจาก NASA, ESA, CSA, STScI, Samuel Crowe (UVA)
รู้วันโอนเงินช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท พร้อมวิธีเช็กเข้าบัญชี
อัปเดต! ปฏิทินวันหยุด 2567 เช็กวันหยุดราชการ-วันหยุดธนาคาร
เช็กสถิติบอลไทย พบ สิงคโปร์ ก่อนดวลฟุตบอลโลก 2026 โซนเอเชีย