6 เมษายน ของทุกปี ถือเป็น “วันจักรี” ภาษาอังกฤษคือ “Chakri Memorial Day” วันสำคัญที่ถูกกำหนดสืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือพระรามาธิบดีที่ 1 เสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ดังนั้นในวันที่ 6 เมษายน ของทุกปี จึงนับเป็นวันครบรอบการก่อตั้งราชวงศ์จักรี
6 เม.ย. “วันจักรี”ร่วมรำลึกประวัติศาสตร์กษัตริย์ไทย
เช็กที่นี่! วันหยุดสงกรานต์ 2565 หยุดยาวกี่วัน?
“วันจักรี” 6 เมษายน 2565 ขึ้นทางด่วนฟรี 3 สายทาง
ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ราชกาลที่ 6 ทรงพระราชดำริว่า เพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระบรมราชบุพการีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ช่างปั้นพระบรมรูปตามลักษณะเหมือนพระองค์จริง ทรงฉลองพระองค์แบบไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อประดิษฐานพระบรมรูปทั้ง 4รัชกาล นั้น เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการได้ถวายบังคมสักการะในการพระราชพิธีฉัตรมงคลและพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
ต่อมาพุทธศักราช 2461 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมชนกนาถ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้นที่ต่างประเทศในคราวเสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่ 2 พุทธศักราช 2450 มาประดิษฐานร่วมกับพระบรมรูปทั้ง 4รัชกาลที่อัญเชิญย้ายมาจากพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท มาประดิษฐานที่ปราสาทพระเทพบิดร สถานที่ที่โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแปลงพระพุทธปรางค์ปราสาทในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สำหรับเป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชทั้ง 5รัชกาล และพระราชทานนามใหม่ว่า "ปราสาทพระเทพบิดร" และด้วยทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งทรงประดิษฐานพระบรมราชวงศ์จักรี ทรงพระมหากรุณาธิคุณต่อประเทศชาติอย่างยิ่ง เมื่อมีโอกาสก็ควรแสดงความเชิดชูและระลึกถึง
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีอัญเชิญพระบรมรูปจากพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท มาประดิษฐานที่ปราสาทพระเทพบิดร เมื่อวันที่ 6เมษายน พุทธศักราช 2461 อันเป็นดิถีคล้ายวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จพระราชดำเนินกลับจากราชการทัพถึงพระนคร และทรงได้รับการอัญเชิญเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบรรจุพระกรัณฑ์ทองคำลงยาราชาวดี ซึ่งบรรจุพระบรมทนต์ (ฟัน) พระสุพรรณบัฏจารึกพระปรมาภิไธย พระดวงพระบรมราชสมภพ พระดวงบรมราชาภิเษก พระดวงสวรรคต ณ เบื้องสูงของพระเศียรพระบรมรูปทั้ง 5รัชกาล ในโอกาสนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระบรมราชโองการ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประชาชนเข้าถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเป็นการประจำปีในวันที่ 6เมษายน เป็นราชประเพณีสีบไป
ในสมัยรัชกาลที่ 7พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีทรงหล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ โรงหล่อกรมศิลปากร ครั้นตกแต่งพระบรมรูปเรียบร้อยแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีประดิษฐานพระบรมรูปที่ ปราสาทพระเทพบิดร โดยเสด็จพระราชดำเนินมาทรงบรรจุพระบรมทนต์ กับพระสุพรรณบัฏจารึกพระปรมาภิไธย พระดวงพระบรมราชสมภพ พระดวงบรมราชาภิเษก และพระดวงสวรรคต ลงในพระกรัณฑ์ทองคำลงยา แล้วทรงบรรจุที่เบื้องสูงของพระเศียรพระบรมรูป เมื่อวันที่ 4เมษายน พุทธศักราช 2470
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชปรารภว่า พุทธศักราช 2475 อายุพระนครจะบรรจบครบ 150 ปี สมควรมีการสมโภชและสร้างสิ่งสำคัญเป็นอนุสรณ์ขึ้นไว้ให้ปรากฏแก่อารยชนนานาประเทศว่า ชาวไทยมีความกตัญญูรู้คุณบรรพบุรุษที่ได้สร้างกรุงเทพมหานครเป็นราชธานี และบำรุงรักษาประเทศให้เป็นอิสระสืบมา จึงมีพระราชปรารภแก่คณะอภิรัฐมนตรีและคณะเสนาบดี ซึ่งคณะอภิรัฐมนตรีและคณะเสนาบดีเห็นชอบด้วยพระราชดำริว่า สมควรสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์ มี 2 สิ่งประกอบกัน คือพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระปฐมกษัตริย์ และสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมพระนครกับธนบุรี
สำหรับพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก นั้น ทรงพระกรุณาโรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบ และให้ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ปั้นหุ่น ส่วนสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงอำนวยการสร้าง งบประมาณในการก่อสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ส่วนหนึ่ง รัฐบาลจ่ายเงินแผ่นดินช่วยส่วหนึ่งอีกส่วนหนึ่งทรงพระราชดำริให้บอกบุญเรี่ยไรราษฎร
เมื่อปฐมบรมราชานุสรณ์ก่อสร้างแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราไปทรงเปิด เมื่อวันที่ 6เมษายน พุทธศักราช 2475 อันเป็นวันครบ 150 ปี และได้มีการพระราชพิธีเฉลิมฉลองกรุงเทพมหานครด้วย ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงหล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ โรงหล่อ กรมศิลปากร และได้อัญเชิญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มาประดิษฐานที่ปราสาทพระเทพบิดร เมื่อพุทธศักราช 2492
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต และได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพตามขัตติยราชประเพณีแล้ว พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ณ โรงหล่อกรมศิลปากร ครั้นตกแต่งพระบรมรูปเสร็จแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีอัญเชิญพระบรมรูปไปประดิษฐาน ณ ปราสาทพระเทพบิดร เมื่อวันที่ 3เมษายน พุทธศักราช 2502 โดยได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบรรจุเส้นพระเจ้า พระสุพรรณบัฏจารึกพระปรมาภิไธย พระดวงพระบรมราชสมภพ พระดวงเสวยราชสมบัติ พระดวงสวรรคต ลงในพระกรัณฑ์ทองคำลงยา แล้วทรงบรรจุ ณ เบื้องสูงของพระเศียรแห่งพระบรมรูป และในโอกาสเดียวกันนี้ ได้ทรงบรรจุเส้นพระเจ้า พระสุพรรณบัฎจารึกพระปรมาภิไธย พระดวงพระบรมราชสมภพ พระดวงเสวยราชสมบัติ พระดวงสวรรคต ในพระกรัณฑ์ทองคำลงยา แล้วทรงบรรจุ ณ เบื้องสูงของพระเศียรแห่งพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยการถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช ที่ปราสาทพระเทพบิดร เป็นราชประเพณีประจำปี ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน พุทรกักราช 2461 เป็นต้นมา ครั้นได้สร้างพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ประดิษฐาน ณ ปฐมบรมราชานุสรณ์ เมื่อพุทธศักราช 2475 เนื่องในการเฉลิมฉลองพระนครบรรจบครบ 150 ปีแล้ว ในปีถัดมาทางราชการได้ประกาศให้ถือวันที่ 6เมษายน เป็นวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ และเป็นวันสำคัญของชาติวันหนึ่ง กำหนดให้เป็นวันหยุด ราชการ ประดับรงชาติ และมีการถวายบังคมพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ณ ปฐมบรมราชานุสรณ์ และถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช ณ ปราสาทพระเทพบิดร
การถวายราชสักการะพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่ปฐมบรมราชานุสรณ์นั้น นับตั้งแต่พุทธศักราช 2476 เป็นต้นมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ไปปฏิบัติแทนพระองค์ ต่อมาระหว่างพุทศักราช 2495-2496 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางพวงมาลาถวายราชสักการะ ภายหลังได้มีพระราชปรารภแก่พลตรี หม่อมทวีวงศ์วัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์ เลขาธิการพระราชวังในขณะนั้น) ว่า การวางพวงมาลาตามคตินิยมของชาวไทยใช้สำหรับการไว้อาลัยแก่ผู้ที่จากไป แต่วันที่ระลึกมหาจักรี วันที่ 6 เมษายน นั้น เป็นมงคลดิถีคล้ายวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ และทรงสถาปนาพระบรมราชวงศ์จัก รีการถวายพวงมาลาจึงไม่เป็นการงดงามเหมาะสม
ครั้นถึงวันที่ระลึกมหาจักรี วันที่ 6เมษายน พุทธศักราช 2497 สำนักพระราชวังได้จัดพุ่มดอกไม้สดสำหรับทรงวางถวายเป็นเครื่องราชสักการะพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์เรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน
วันที่ระลึกมหาจักรี วันที่ 6เมษายน พุทธศักราช 2562พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่บริเวณด้านหน้าพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาวันที่ 6เมษายน พุทธศักราช 2563 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จากพระที่นั่งอัมพรสถาน เพื่อไปประกอบพิธีประดิษฐานและสมโภช ที่ปราสาทพระเทพบิดร ในพระบรมมหาราชวัง ในเย็นวันเดียวกันได้เสด็จพระราชดำเนินทรงบรรจุสุพรรณบัฏจารึกคำถวายราชสดุดี พระสุพรรณบัฏจารึกดวงพระบรมราชสมภพที่ใต้ฐานพระบรมรูป
อนึ่ง วันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประชาชนเข้าถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราช ที่ปราสาทพระเทพบิดร ตั้งแต่เวลา 8นาฬิกา จนถึงเวลา 17นาฬิกา
แต่ในปี 2566 นี้ นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมได้ ตั้งแต่เวลา 08.00– 12.00 นคำพูดจาก ปั่นสล็อต. งดเข้าชมพระอุโบสถทั้งวัน และเข้ากราบถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชในได้ ตั้งแต่เวลา 08.00 – 13.00 น. ทั้งนี้ โปรดแต่งกายสุภาพ สุภาพบุรุษห้ามสวมกางเกงยีนส์ สุภาพสตรีต้องสวมกระโปรงหรือผ้านุ่ง
เรียบเรียง :นางสาวเพลินพิศ กำราญ (สำนักพระราชวัง) และ พีพีทีวี นิวมีเดีย